เมื่อประชาชนโดนเอาเปรียบจากเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่ไร้ความเป็นธรรม และเน้นการสร้างผลกำไรเป็นสำคัญ หลายรายถอดใจไม่ยอมเอาเรื่อง และยอมให้เป็นผู้ถูกกระทำเพราะคิดว่าตัวเองเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา แต่รู้ไม่ว่ากฎหมายได้ให้สิทธิ์กับประชาชนในการร้องเรียนความไม่เป็นธรรมดังกล่าวได้ง่ายๆ เพราะการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสคบ.ต้องทำที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำกรุงเทพมหานคร หรือคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ที่มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ โดยมีขั้นตอนดังนี้
การเตรียมเอกสารที่สำคัญได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพยานเอกสารที่สามารถเป็นหลักฐานสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือสัญญา เอกสารโฆษณา ภาพถ่าย ฯลฯ นอกจากนี้สำหรับกรณีร้องเรียนเกี่ยวกับบ้านและที่ดิน อาจจะต้องมีการเตรียมไปรษณียบัตร 1 แผ่น และอากรสแตมป์จำนวน 30 บาท กรอกแบบบันทึกร้องเรียนพร้อมแนบเอกสารที่เตรียมมามอบให้กับเจ้าหน้าที่ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็รอติดตามผลหากมีการดำเนินการล่าช้าก็สามารถร้องเรียนได้ด้วย
ช่องทางอื่นๆในการติดต่อเพื่อร้องเรียนในเรื่องของสิทธิผู้บริโภคที่สะดวกกว่าการไปยื่นเรื่องด้วยตนเองก็คือ การโทรติดต่อสายด่วนโดยตรงเพื่อร้องทุกข์ call center :1166 หรือแจ้งทางไปรษณีย์ผ่านที่อยู่ ตู้ ป.ณ. 99 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ 10300 ก็สามารถทำได้
รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ตามหน้าเว็บไซต์อย่าง Website: http://www.ocpb.go.th หรือส่งอีเมล์เข้าไปที่ consumer@ocpb.go.th ก็ได้ โดยทุกเรื่องราวของการร้องทุกข์จะถูกนำไปใช้พิจารณาและบังคับให้ความเป็นธรรมการประชาชนให้ถึงที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างทันสมัยในปัจจุบัน และการบริหารจัดการของรัฐบาลให้ก้าวทันโลกดิจิตอลจะสร้างปรากฏการณ์ในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและได้รับความสะดวกสบายมากที่สุด
ปัจจุบันการให้ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้อีกช่องทางนั่นก็คือ “ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ผ่านการโทรเข้ามาที่เบอร์ 1166” สามารถโทรมาเพื่อสอบถามขอคำปรึกษา หรือร้องเรียนเมื่อได้รับความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดสิทธิ์จากผู้ประกอบการให้บริการหรือตัวผู้ผลิตสินค้าเอง การบริหารจัดการศูนย์ดังกล่าวถูกแบ่งเป็นหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูล และฝ่ายเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาร้องทุกข์ รวมไปถึงฝ่ายทนายอาสาคอยทำหน้าที่แก้ไขความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายให้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
เห็นหรือไม่ว่าปัจจุบันมีวิธีมากมายในการเข้าถึงหน่วยงานของรัฐในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ไม่จำเป็นต้องมีเงินมากหรือมีเส้นสายมากจึงจะได้รับความเป็นธรรม เพียงแต่ต้องใช้ความกล้าและความเข้าใจในการลองเข้าไปปรึกษาหรือร้องเรียนในปัญหาที่ตนประสบเท่านั้น ศูนย์รับร้องเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พร้อมยื่นมาเข้ามาช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้วยกันอย่างแน่นอน