‘พล.ต.ต.ประสิทธิ์’ ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือที่ประชาชนคนไทยรู้จักกันดีภายใต้ชื่อ ‘สคบ.’ ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อว่า ‘สคบ.’ ได้เชื้อเชิญตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิต รวมทั้งผู้ขายสินค้ารายใหญ่ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย สบู่ , แชมพู , ครีมนวด และโลชั่น เข้ามาพูดคุยเรื่องการแสดงฉลาก เพราะเหตุการณ์นี้มีมูลมาจากการที่ สคบ.ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้หลายจังหวัด แล้วพบการร้องเรียนจากชาวบ้านจำนวนมากว่า สินค้าหลายชนิดตามกล่าวไว้ในข้างต้น มีปริมาณไม่ตรงกับฉลาก โดยเฉพาะขวดแชมพูที่บริเวณข้างขวดมีการระบุเอาไว้ว่า มีปริมาณสุทธิทั้งสิ้น 450 มิลลิลิตร หากแต่จากนำมาชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจสอบ ปรากฏว่าขวดแชมพูส่วนใหญ่มีปริมาณของเหลวภายในเพียง 420-430 มิลลิลิตรเท่านั้น !!
แชมพูยี่ห้อดัง ขายในปริมาณไม่ตรงกับการกล่าวอ้าง
จากผลการทดสอบจึงพบว่า แชมพูดังกล่าวมีปริมาณน้อยกว่าที่กล่าวอ้างเอาไว้จริง ! หากแต่ก็ไม่มาก แต่ถึงกระนั้นถ้านำมารวมกันทั้งประเทศก็ถือว่าเป็นจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว โดยสินค้าเหล่านี้มีการขนออกมาจากโรงงานผลิตโดยตรง เพราะฉะนั้นทาง สคบ.จึงจำเป็นต้องเรียกให้ผู้ผลิตออกมาให้คำตอบในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำฉลากให้ตรงกับปริมาณเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ ส่วนในเรื่องของราคาขาย ก็คงต้องไว้วานให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแลจัดการให้อย่างเด็ดขาดต่อไป
บุกจังหวัดพังงาและภูเก็ต ตรวจเข้ม
นอกจากนี้ทางด้านผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมว่า ‘เลขาฯ สคบ.’ ได้นำคณะ ลงพื้นที่ตรวจอย่างเข้มงวด ในจังหวัดพังงาและภูเก็ต วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2562 เพื่อตรวจสอบน้ำหนักของแชมพู และน้ำยาปรับผ้านุ่มประเภทซอง ผลการตรวจพบว่าปริมาณของแชมพูสระผม 2 ยี่ห้อซึ่งนำมาทดลอง ในยี่ห้อแรกบริเวณฉลากข้างขวดได้ระบุถึงปริมาตรสุทธิ 450 มิลลิลิตร หากแต่เมื่อตรวจด้วยแล้วกลัวได้ปริมาณเพียง 430 มิลลิลิตรเท่านั้น และในขณะที่การตรวจสอบยี่ห้อที่ 2 บนฉลากได้ระบุปริมาตรไว้ถึง 400 มิลลิลิตร หากแต่เมื่อตรวจสอบแล้วได้น้ำหนักเพียง 380 มิลลิลิตรเท่านั้น ทำให้ผลเป็นประจักษ์ว่าปริมาณของแชมพูทั้ง 2 ยี่ห้อนั้น หดหายไป 20 มิลลิลิตรเลยทีเดียว ทำให้ไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้ ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเสียเงินไปฟรีๆจำนวน 2 บาทกว่า ซึ่งถ้าลองนำปริมาณของผู้ใช้งานจากทั่วประเทศไทยมาคิด จะเป็นเงินหายไปในระดับมหาศาลเลยทีเดียว ส่วนทางด้านของน้ำยาปรับผ้านุ่ม ปริมาตร 375 มิลลิลิตร เมื่อลงมือตรวจสอบด้วยวิธีการเดียวกันแล้ว พบว่ามีปริมาณตรงกับฉลากจริง ทั้งนี้เพื่อเป็นการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคเอง ก็ต้องใส่ใจในการเลือกซื้อ เมื่อพบสิ่งน่าสงสัยก็ให้แจ้ง สคบ. ทันทีเพื่อสร้างความถูกต้องให้เกิดขึ้น