ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภค

ข่าวการหลอกลวงเกี่ยวกับสินค้าและบริการในปัจจุบัน  มีอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อโซเชียลต่างๆอยู่เสมอ  แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยให้ความสำคัญในการเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภคมากเท่าที่ควร  เพราะขาดศรัทธาในระบบกฎหมายของบ้านเมืองบ้าง และยังขาดความรู้ความเข้าใจในอำนาจของศูนย์ร้องเรียนผู้บริโภค อย่าง “ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค “ หรือที่ประชาชนเรียกกันติดปากว่า “สคบ.”

 

ประเทศไทยได้จัดตั้งหน่วยงานหนึ่งขึ้นมา เรียกสั้นๆ ว่า “สคบ.” ตามพ.ร.บ. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 และมีการแก้ไขพ.ร.บ.ใหม่ในปี 2541  เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการในสังคม  โดยได้คุ้มครองสิทธิพื้นฐานที่ผู้บริโภคพึงได้รับ  แต่ทั้งนี้การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมให้มีความเป็นธรรมและสำคัญไม่น้อยกว่าการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล เพราะนอกจาก “สคบ.”แล้วก็ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  และประชาชนควรจะเลือกร้องเรียนให้ตรงกับปัญหาของสินค้าและบริการที่ตนได้รับความไม่เป็นธรรมด้วย เพื่อประโยชน์ในการรักษาสิทธิให้เต็มประสิทธิภาพดังนี้

 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  คุ้มครองตั้งแต่สินค้าจำพวก  อาหาร วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมไปถึงยารักษาโรค  ตลอดจนเครื่องมือแพทย์ วัตถุเสพติดให้โทษ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และปลอดภัยกับประชาชนมากที่สุด หากมีปัญหาความไม่ธรรมจากสินค้าดังกล่าว สามารถร้องเรียนได้กับหน่วยงานนี้

 

กรมอนามัยของกระทรวงสาธารณสุข  การบริการที่ถูกหลักโภชนาการ หรือมาตรฐานด้านโภชนาการในแง่วิชาการต่างๆ สามารถหาข้อมูลหลักได้จากกรมอนามัยนี้

 

กรมการค้าภายใน  มีหน้าที่ควบคุมดูแลการส่งออก-นำเข้าสินค้าให้เป็นไปตามกฎหมาย หากพบว่าถูกเอาเปรียบจากการค้า สามารถร้องเรียนได้กับหน่วยงานกรมการค้าภายใน

 

กรมที่ดิน  ดูแลสอดส่องปัญหาเกี่ยวกับการโอนซื้อขายที่ดิน  รวมถึงสัญญาจะซื้อจะขาย  และการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่ดินได้ที่กรมนี้

 

สำนักงานมาตรฐานในการผลิตภัณฑ์อุตสากรรม  หรือสินค้าที่มี “มอก.” หากพบข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า สามารถร้องเรียนกับสำนักงานนี้ได้

 

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ดูแลควบคุมสารเคมีในการทำการเกษตร และวัตถุอันตรายมีพิษต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี

 

คณะอนุกรมการคุ้มครองผู้บริโภค   จะมีอยู่ในทุกจังหวัดประจำการ คอยรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค และให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับประชาชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากที่สุด

 

หากประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในหน่วยงานเหล่านี้และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในการร้องเรียนเพื่อเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมที่พึงได้รับจากความเสียหายอันเกิดจากสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่เอารัดเอาเปรียบได้  ก็นำมาซึ่งการรักษาสิทธิที่ถูกต้อง  ไม่มีการโต้เถียงหรือสร้างความรุนแรงจากความขัดแย้งดังกล่าวให้เกิดขึ้นในสังคมอีกต่อไป