สิทธิผู้บริโภคตามกฎหมายที่ประชาชนพึงรู้

 

กฎหมายช่วยอะไรไม่ได้  หรือเราไม่รู้ว่ามีกฎหมายอะไรที่คุ้มครองเราบ้าง?  การมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคเปรียบเสมือนโล่ห์คุ้มกันภัยจากการเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการที่ไม่เป็นธรรม  ทุกวันนี้มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ที่มีการแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมในปีพ.ศ. 2541 ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของประชาชนไว้ 5 ประการ ดังนี้

claim

สิทธิในการได้รับความปลอดภัยจากสินค้าและบริการ   เพราะทุกวันนี้มีการแข่งขันทางการตลาดและลดต้นทุนในการผลิต  เพื่อให้ผลกำไรมากๆ ย่อมส่งผลต่อความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ดังนั้นเพื่อสร้างมาตฐานในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย กฎหมายจึงกำหนดเป็นสิทธิเบื้องต้นในการให้ผู้ประกอบการ เน้นและใส่ใจในเรื่องของความสะอาดและปลอดภัยเป็นสำคัญ  ในปัจจุบันมี 2 องค์กรที่ดูแลสิทธิในด้านนี้ได้แก่ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคและองค์กรอาหารและยานั่นเอง

 

สิทธิในการได้รับข่าวสารและคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  หลายครั้งที่ผู้ประกอบการมักจะบิดเบือนคำพูด ข้อความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ  ทำให้การตัดสินใจในการซื้อสินค้าและบริการผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ เช่นว่า ถ้าเรารู้เช่นนี้แล้วเราคงไม่ซื้อ  ฯลฯ  ด้วยเทคนิคแยบยลต่างๆเช่น การให้ข้อมูลด้วยคำพูดตีความได้สองความหมาย หรือใช้ตัวหนังสือบนใบปลิวประชาสัมพันธ์ด้วยขนาดเล็กแทบมองไม่เห็น เหล่านี้ก็สร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภคมานักต่อนัก  ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดสิทธิให้ผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอในเรื่องที่เป็นสำคัญใน  ด้านราคา  หมายถึง  ราคาต่อหน่วยสินค้า  ข้อมูลนั้นรวมถึงปริมาณที่บรรจุ การหีบห่อสมบูรณ์ดีหรือไม่   ด้านป้ายโภชนาการ หมายถึง  ข้อมูลสินค้าคืออะไร บริโภคอย่างไร มีคำเตือนเช่นไร ด้านอายุการใช้งาน  หมายถึง วันหมดอายุ วันผลิต ที่ต้องระบุให้ชัดเจนบนผลิตภัณฑ์

 

สิทธิในการมีอิสระที่จะเลือกสินค้าและบริการ  โดยต้องให้ความรู้ในการประเมินสินค้าและบริการสำหรับเทคโนโลยีที่ยุ่งยากให้ชัดเจน เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

 

สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา หากมีการร่างสัญญาต่อกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ  ก็ย่อมต้องได้รับความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย  เป็นไปตามกฎหมายเรื่องสัญญา

 

สิทธิอันพึงได้รับการพิจารณาและชดใช้ความเสียหาย  หลักๆคือการสร้างกฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคถือเป็นการป้องกันอย่างหนึ่ง  แต่หากมีความผิดพลาดอันเกิดจากการฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ต้องให้ผู้ประกอบการแก้ไขสิ่งผิดพลาดด้วยการชดเชยสินค้าหรือบริการที่เสียหาย ไป  ด้วยสิ่งใหม่ทดแทน  แต่หากผู้ประกอบยืนยันไม่ชดเชยความเสียหายดังกล่าวยอมร้องเรียนต่อกฎหมายให้มีการลงโทษต่อผู้ผลิตตามกฎหมายอาญา มีทั้งบทลงโทษแบบปรับและจำคุกนั่นเอง

 

จะเป็นได้ว่าสิทธิเหล่านี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายสร้างความเป็นธรรม  แต่ผู้ใช้กฎหมายก็ย่อมต้องรู้จักเรียนรู้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับตนเองด้วยเช่นกัน